โบสถ์ปรกโพธิ์ที่ค่ายบางกุ้ง

บันทึกนี้เขียนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2551

เรื่องมันเริ่มจากเมื่อเดือนกันยายนปี 2551 ผมไปเที่ยวแม่กลองเนื่องในวันครบรอบวันเกิด
แล้วก็เลยเถิดลงเรือเที่ยวจากอัมพวา เรือพาชมวัดต่างๆมาจนถึงวัดบางกุ้งซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของค่ายบางกุ้งในครั้งอดีต


เขามีให้ไปล่องเรือดูหิ่งห้อย ไม่ค่อยสนเท่าไร มันมืดจะเห็นก็คงเห็นแต่หิ่งห้อย
ฝนตกพรำๆ มันจะมีให้ดูรึ เอาแน่ๆ ล่องมันกลางวันชมธรรมชชาติสองฝั่งคลองดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม

วัดศรีชุม-ลำปาง วัดพม่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

12 กันยายน 2556

วันนี้พวกเราขับรถจากกรุงเทพฯ มาถึงเมืองลำปางเร็วกว่าที่คิดไว้มาก เราจึงขับรถตระเวณเมืองลำปาง พอกางแผนที่ที่ได้รับมาจากศูนย์ท่องเที่ยวลำปางก็พบว่าในเมืองลำปางนี้ น่าจะมาแวะที่วัดศรีชุมเสียก่อนเพราะใกล้จุดที่เราพัก ไม่รอช้าคิดได้แล้วก็เลี้ยวรถไปตามแผนที่ ไม่ถึง 10นาทีก็มาถึงวัดศรีชุม

ในบรรดาวัดพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทย 31 วัดนั้น วัดศรีชุมเป็นวัดพม่าที่ใหญ่ที่สุด สร้างในปี พ.ศ. 2433 โดยคหบดีพม่าชื่อ อูโย ซึ่งติดตามชาวอังกฤษเข้ามาทำงานป่าไม้ในประเทศไทย เมื่อตนเองมีฐานะดีขึ้นจึงต้องการทำบุญโดยสร้างวัดศรีชุมขึ้นในตำบลสวนดอก ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการบูรณะวัดที่มีอยู่เดิม เพราะเดิมนั้นวัดศรีชุมก็เคยเป็นวัดมาก่อน แต่เป็นวัดเล็กๆมีเพียงศาลา บ่อน้ำ และต้นโพธิ์เท่านั้น

วัดศรีชุม

วัดศรีชุม

อ่านเพิ่มเติม

เที่ยวตลาดโก้งโค้ง กราบพระวัดพนัญเชิง นมัสการเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล


วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลา 51 คิดว่าจะไปไหว้หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง
ก็เลยวิ่งรถเลียบแม่น้ำ(อีกแล้ว) ลัดเลาะไปตามทางผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
ใกล้จะถึงวัดแล้ว เจอตลาดโก้งโค้ง ชื่อแปลกดี คุ้นๆว่าเคยดูใน TV
แต่ยังไม่เคยแวะเลยสักที คราวนี้แวะสักหน่อยดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม

พาเที่ยววัดในกรุงเทพฯ (๕) – วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

คืนวันก่อนที่ไปงานวัดภูเขาทอง ส่องกล้องลงมาเห็นหลังคาโบสถ์ของวัดกัลยาณมิตร
ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ดังนั้นหลังจากที่ไปแวะเวียนวัดหลวงต่างๆที่อยู่
ทางฝั่งพระนครหลายวัดแล้ว ก็คงต้องย้อนกลับมาฝั่งธนบุรีบ้านเกิดของผมกันบ้าง
ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว วัดทางฝั่งธนฯนี้ ก็มีความสวยงามและประวัติความเป็นมาเก่าแก่ไม่แพ้กันครับ

วัดกัลยาณมิตรนี้ เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อซำปอกง หรือ พระพุทธไตรรัตนายก
องค์เดียวกับหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงที่กรุงเก่าอยุธยา สังเกตุได้จากหลังคาโบสถ์ที่สูงใหญ่
คล้ายกันกับที่อยุธยา ลักษณะหลังคาโบสถ์แบบนี้ ถ้าเห็นที่วัดไหน สัณนิษฐาณได้เลยครับ
ว่าพระประฐานในโบสถ์ต้องมีขนาดใหญ่โตไม่ธรรมดาแน่ๆ

เมื่อครั้งที่ผมยังเด็กประถม ผมเรียนที่โรงเรียนซางตาครู้สศึกษา ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดกัลยาฯแห่งนี้
พอมาเห็นหลังคาโบสถ์จากพระบรมบรรพต ภูเขาทอง ก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงวันเก่าๆ

มาดูประวัติของวัดนี้กันสักนิดนะครับ (ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org)

[ประวัติ] วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง
ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า “หมู่บ้านกุฎีจีน” สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ
พ.ศ. ๒๓๖๘ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า “วัดกัลยาณมิตร”
และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ
พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า
คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิง

หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า
ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕ วา ๓ ศอกคืบ
สูง ๗ วา ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทาน
ช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๐
อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ

พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) ซึ่งรัชกาลที่ ๓
ทรงสร้างพระราชทาน เป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์
ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติ และแสดงชีวิตชาวบ้านในสมัยรัชกาลที่ ๓
และยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ ๔
หน้าวิหารหลวงเป็นหอระฆังที่เพิ่งสร้างใหม่ เก็บระฆังยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

และก็เช่นเคยครับ พาหนะคู่ใจสำหรับการท่องเที่ยวกรุงเทพฯของผมก็คือแมงกะไซค์คันน้อย
หาที่จอดง่ายและฝ่าการจราจรหฤโหดในกรุงเทพฯดีนัก (รู้งี้น่าจะซื้อมาใช้ตั้งนานแล้ว)
มาถึงวัดก็หาที่ร่มๆจอด เจอที่เหมาะๆก็ใต้ต้นไม้ริมท่าน้ำ ก็อย่างที่ได้เกริ่นไว้ก่อนแล้วว่า
วัดนี้อยู่ริมน้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี หากท่านมองมายังพระปรางค์วัดอรุณฯ จากฝั่งพระนคร
หรือมองจากสะพานพุทธฯ แล้วมองต่อไปทางซ้าย จะเห็นวัดหนึ่งที่มีโบสถ์ใหญ่สูงตระหง่าน
นั่นละครับวัดกัลยาณมิตร


มองข้ามฝั่งไปเห็นโรงเรียนราชินี อาคารทรงยุโรปย้อนยุค


มองไปอีกทางหนึ่งเป็นสะพานพุทธ


ที่นี่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน แต่ทางเข้าโบสถ์ทรุดโทรมจนน่าเสียดาย



ด้านหน้าพระอุโบสถ

จุดธูปนมัสการเจ้าพ่อซำปอกงที่ด้านหน้าพระอุโบสถ มีกระถางธูปให้ปักอยู่ถึง 5 แห่ง
และจากการสอบถามผู้ที่มานมัสการอยู่ก่อน ได้ความว่า การปักธูปให้เรียงลำดับดังนี้
1. กระถางใหญ่ที่มีภาษาจีนสีแดง
2. กระถางหน้า ทางซ้าย
3. กระถางหน้า ตรงกลาง
4. กระถางหน้า ทางขวา
5. กระถางหลังสุด
ปักธูปแห่งละ 3 ดอก รวมทั้งหมด 15 ดอกพอดี
โดยทางวัดจัดธูปเทียนเป็นชุดพอดีไว้เรียบร้อยแล้ว


พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อซำปอกง


กำปั่นโบราณของเจ้าสัวโต (เจ้าพระยานิกรบดินทร์) ผู้สร้างวัด


บานประตูสูงมาก สมกับความสูงของโบสถ์


ออกจากโบสถ์มา มองไปทางซ้าย เห็นระฆังใบใหญ่สะดุดตาแขวนอยู่

เข้าไปถ่ายใกล้ๆ เห็นประวัติอยู่บนระฆัง น่าสนใจดีครับ
อ่านแล้วทำให้ทราบว่าในสมัยนั้น การหล่อระฆังใหญ่ขนาดนี้
จำเป็นต้องว่าจ้างบริษัทญี่ปุ่นหล่อระฆังให้ และจากข้อมูล wikipedia
ระฆังใบนี้ เป็นระฆังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
จากวัดกัลยาณมิตร มองไปไม่ไกลก็จะเห็นพระปรางค์วัดอรุณ
เราสองคนก็ไม่รอช้า พาแมงกะไซคันเก่งออกจากซอยวัด
เลี้ยวไปตามถนนอรุณ-อมรินทร์ ไม่นานนักก็ถึงวัดอรุณแล้วครับ

รวมหัวข้อพาเที่ยววัดในกรุงเทพฯ